ERP ตัวช่วยที่ใช่ จัดการร้านค้าออนไลน์ ให้ปัง

Sep 13, 2022

ไขข้อสงสัยกระบวนการจัดซื้อคืออะไร

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในยุคดิจิทัล สื่อออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทและเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคนมากขึ้น หลายคนได้หันมาใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ในการหารายได้ สำหรับการสินค้าออนไลน์ เป็นอาชีพหนึ่งที่กำลังมาแรงในยุคนี้ และได้กลายเป็นอาชีพหลักไปแล้ว ซึ่งเห็นได้ว่าการขายสินค้าออนไลน์เริ่มมีการแข่งขันที่สูงขึ้น และมีการขายสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางต่างๆ เพิ่มมากขึ้นตามด้วย เช่น การสินค้าบน Lazada , Shopee และ JD Central เป็นต้น ซึ่งแพลตฟอร์ม e-Marketplace เหล่านี้ถือเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง และที่สำคัญหากร้านค้าออนไลน์ร้านใดสามารถบริหารจัดการได้ดี ก็จะช่วยตอบโจทย์ลูกค้าเป็นอย่างมาก ซึ่งการเปิดร้านค้าออนไลน์นั้นสามารถทำได้ง่าย และทำให้ใครหลาย ๆ คนจึงหันมาอยากลองขายสินค้าออนไลน์กันมากยิ่งขึ้น แต่การที่จะทำให้ร้านค้าออนไลน์เติบโตขึ้นไปนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อรองรับการเติบโตและขยายตัวขึ้นของร้านค้าออนไลน์ การนำฟังก์ชัน e-Marketplace เข้ามาช่วยในการบริการจัดการร้านค้าออนไลน์  เพื่อให้สามารถจัดการและบริหารแบบเต็มประสิทธิภาพ ครบวงจร มีลูกค้ามาใช้บริหารอย่างต่อเนื่องและประทับใจ จะมีวิธีการอย่างไร ลองมาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้


พาไปรู้จักกับ Marketplace


Marketplace หมายถึง สถานที่สื่อกลางสำหรับผู้ซื้อและผู้ขายมาพบปะกัน เพื่อซื้อขายสินค้าและบริการ โดยมีทั้งรูปแบบออฟไลน์ คือ ตลาดนัด ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และแบบออนไลน์ คือ แพลตฟอร์มในรูปแบบแอปพลิเคชัน หรือ เว็บไซต์ ซึ่ง Marketplace บนโลกออนไลน์นั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า e-Marketplace

e-Marketpace เปรียบเสมือนแพลตฟอร์มการสินค้าออนไลน์ที่มีขนาดใหญ่ สามารถซื้อขายได้จากทุกแหล่ง ผู้ซื้อสินค้าสามารถค้นหาสินค้าได้อย่างง่ายและรวดเร็ว เป็นตลาดออนไลน์ที่ซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับ e-Marketplace ได้กลายเป็นแหล่งซื้อขายที่สำคัญ เนื่องจากมีสินค้าให้เลือกซื้อเกือบทุกชนิด ปัจจุบันมีการขายสินค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆที่เป็นนิยมเช่น Lazada , Shopee และ JD Central เป็นต้น ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการค้าออนไลน์ ทั้งในเรื่องของ การขายสินค้า การติดตามสินค้า การบริการลูกค้า รวมไปถึง การจัดส่งสินค้า เป็นต้น เพื่อให้สามารถบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ได้อย่างครบวงจร

จัดการร้านค้าออนไลน์

จัดการร้านค้าออนไลน์



e-Marketplace เกี่ยวข้องกับ ERP อย่างไร

 

e-Marketplace คือระบบหน้าบ้านที่ใช้สำหรับการขายสินค้าออนไลน์ ส่วนระบบ ERP เป็นระบบหลังบ้านที่รวบรวมหรือเชื่อมคู่ทุกกระบวนการทำงานเข้าบ้านด้วยกัน ซึ่งหากระบบหน้าบ้านอย่าง e-Marketplace สามารถทำงานร่วมกับระบบหลังบ้านอย่าง ERP ได้ ก็จะช่วยในเรื่องของการจัดการร้านค้าออนไลน์ได้เพิ่มมากขึ้น โดยมีจุดเด่นในเรื่องของสำหรับบันทึกบัญชี หรือ การจัดทำบัญชีสรรพากร โดยที่ระบบไม่ต้องบันทึกรายการซ้ำอีกรอบ ซึ่ง e-Marketplace มีฟังก์ชันพื้นฐานดังนี้

จัดการร้านค้าออนไลน์

1.) การเชื่อมต่อร้านค้า เป็นขั้นตอนแรกที่จะต้องทำการเชื่อมต่อร้านค้าออนไลน์กับระบบ e-Marketplace ก่อน ซึ่งจะมีการตั้งค่าเกี่ยวกับสิทธิ์ในการเข้าถึง โดยต้องมี UserName กับ Password ข้อมูลในส่วนนี้จะใช้เชื่อมต่อกันก่อนที่จะดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างร้านค้าออนไลน์และระบบ e-Marketplace

 

2.) การอัปโหลดสินค้า ร้านค้าออนไลน์จะต้องมีสินค้าที่ใช้ในการจำหน่าย ฟังก์ชันนี้จะช่วยในการ นำเอาข้อมูล Master data ของ ERP ขึ้นไปอยู่บนระบบเพื่อเชื่อมต่อกับ e-Marketplace ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ต้องตรงกัน หลังจากนั้นจึงมีการกำหนดขั้นตอนในการตั้งสินค้าใหม่แต่ละชิ้นขึ้นมา 

 

3.) การกำหนดปริมาณ  ในแต่ละแพลตฟอร์มมีข้อบังคือคือต้องกำหนดปริมาณของสินค้านั้นๆ เพื่อให้ทราบว่าร้านค้าออนไลน์มีปริมาณของสินค้าเท่าไหร่ เพื่อแจ้งให้กับทางลูกค้าทราบถึงจำนวนปริมาณสินค้าอีกด้วย เช่น สินค้าตัวนี้ใกล้จะหมดควรรีบทำการสั่งซื้อหรือต้องเติมสต๊อกไปเพิ่ม

 

4.) การกำหนดราคา กำหนดหรือตั้งค่าที่ระบบ ERP ก่อน แล้วจึงกำหนดที่แพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์  เพื่อให้ราคาตรงกัน สำหรับในส่วนของการทำโปรโมชันต่างๆ จะมีเงื่อนไขภายในแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ต่างกันไป ขั้นตอนการตั้งค่าราคาควรจะมีการจำแนกและแยกเรื่องของราคาสินค้าที่เป็นราคาปกติและราคาโปรโมชัน เพื่อให้ทางระบบทราบว่ารายการใบสั่งขายใบนี้ประกอบไปด้วยตัวสินค้าราคาเท่าไหร่ ส่วนลดเท่าไหร่ เป็นต้น

 

5.) ส่งรายการสั่งซื้อ หลังจากที่มีการอัปเดตข้อมูลแล้ว จะมีการดึงข้อมูลรายการสั่งซื้อต่างๆ จากแพลตฟอร์มออนไลน์ จัดทำเป็นรายการบนระบบ ERP เมื่อลูกค้าทำการออเดอร์สินค้า ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างออเดอร์นั้นๆ ซึ่งช่วยลดกระบวนการทำงานของผู้ขายเอง 

 

จากฟังก์ชันพื้นฐานของ e-Marketplace ที่กล่าวมา ฟังก์ชันเหล่านี้จะช่วยในการบริหารการขายสินค้าบนแพลตฟอร์มได้ดีขึ้น ซึ่งสามารถดึงข้อมูลสำคัญในการออกใบกำกับภาษี แรงงานขาย หรือแม้กระทั่งการทำภาษีขายที่จะต้องส่งให้สรรพากรได้ แต่เพื่อประโยชน์สูงสุดของการจัดการร้านค้าออนไลน์ และรองรับกับการแข่งขันที่สูงขึ้น e-Marketplace จึงมีความสามารถใหม่ที่ช่วยทำให้การจัดการร้านค้าออนไลน์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

จัดการร้านค้าออนไลน์

ความสามารถใหม่จาก e-Marketplace ที่ร้านค้าควรมี 

หลังจากที่ได้ทราบเกี่ยวกับฟังก์ชันพื้นฐานของ Marketplace ในกระบวนการร้านค้าออนไลน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ครบวงจรมากกว่าเดิม Marketplace ได้มีความสามารถใหม่ซึ่งเป็นตัวช่วยในการจัดการร้านค้าออนไลน์แบบครบวงจรมากกว่าเดิม ช่วยลดภาระการทำงานที่ซับซ้อนซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ประกอบธุรกิจร้านค้าออนไลน์อย่างยิ่ง

 

1.) การเปิดร้านค้าได้มากกว่า 1 ร้าน 
หากผู้ประกอบการมีร้านค้ามากกว่า 1 ร้านค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ก็อาจจะส่งผลให้สินค้าของเราปรากฏขึ้นมาได้ง่าย โดยกล่าวง่ายๆ คือหากลูกค้าต้องการที่จะค้นหาสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ก็จะสามารถเจอสินค้าของเราได้ก่อน ซึ่งอาจจะเจอสินค้าบนร้านไหนก็ได้ที่เราเป็นเจ้าของ ซึ่งในการปรากฏสินค้าจะขึ้นอยู่กับ performance ของสินค้าด้วย



2.) การจัดกลุ่มของสินค้า
เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกของลูกค้าในการเลือกสินค้าเพื่อให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด ถึงแม้ว่าจะเป็นสินค้าชนิดเดียวกันก็ต้องมีการจัดกลุ่มเพื่อทำให้ลูกค้าตัดสินใจในการเลือกซื้อไวขึ้น เช่น ขนาด สี รุ่น เป็นต้น ทำให้ผู้ซื้อเห็นสินค้าที่มีความหลากหลายและสะดวกต่อการเลือกซื้อ

 

3.) การแยกคลังสินค้าตามร้าน
ช่วยให้เจ้าของธุรกิจร้านค้าออนไลน์ทราบถึงจำนวนของสินค้าแต่ละชนิด ทำให้ทราบถึงจำนวนของสินค้าในสต๊อกว่าคงเหลือเท่าไหร่ และต้องสั่งสินค้าเพิ่มตอนไหนหากสินค้าใกล้จะหมด

 

4.) การกำหนดราคาสินค้าแยกตามร้าน

เพื่อช่วยเรื่องในเรื่องของการแข่งขัน ร้านค้าออนไลน์ต่างๆได้มีการจัดโปรโมชันต่างๆเพื่อจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อมากขึ้น เช่น หารจัดโปรโมชันร่วมกับทางแพลตฟอร์ม ทำให้การขายสินค้าขายได้ง่ายขึ้น และยอดขายมากยิ่งขึ้น

 

5.) รายงานส่งสินค้า
สามารถติดตามสถานะการส่งข้อมูลต่างๆในแพลตฟอร์ม สำหรับฟังก์ชันนี้สามารถช่วยอำนวยความสะดวกโดยที่ไม่ต้องไปเข้าตามแพลตฟอร์มต่างๆ สามารถดึงข้อมูลการตรวจสอบสินค้า เพื่อเช็กได้ว่าออเดอร์ไหนที่มีการจัีดส่งไปแล้ว จัดส่งด้วยขนส่งอะไร และปัจจุบันสินค้าถึงลูกค้าแล้วหรือยัง 

 

6.) รายงานการจ่ายเงิน

หลังจากที่ทางลูกค้าได้รับสินค้าแล้ว ทางแพลตฟอร์มจะรวบรวมออเดอร์ ซึ่งสำหรับการจ่ายเงิน ในแต่ละแพลตฟอร์ฺมจะมีเงื่อนไขต่างๆและจะทำการสรุปออดเดอร์ที่มีการส่งให้กับลูกค้าอย่างเสร็จสมบูรณ์ โดยอาจมีการตัดรอบแล้วแต่เงื่อนไข หลังจากนั้นก็จะโอนเงินกลับมาให้ผู้ขาย

 

7.) อัปโหลดสินค้าจาก ERP จับคู่สินค้าบน e-Marketplace

นอกเหนือจากที่เราจะอัปโหลดข้อมูลสินค้าของเราจาก ERP ขึ้นไปยังตัวแพลตฟอร์ม ควรจะต้องจับคู่สินค้าจากแพลตฟอร์มที่มีอยู่แล้วลงมาที่ระบบ ERP ได้อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษา Performance ของสินค้า หากสินค้าชนิดไหนมียอดขายที่ดี หรือมีการตอบรับที่ดี หากจำเป็นต้องอัปโหลดข้อมูลชนิดนี้ขึ้นมาไหมแน่นอนว่าไม่เป็นผลดีต่อทางผู้ขาย โดยเราสามารถ mapping ได้จากความสามารถใหม่นี้ช่วยลดระยะเวลาในการอัปโหลดสินค้าแบบซ้ำๆ

 

8.) การออกใบกำกับภาษีโดยไม่ต้องกรอกข้อมูลใหม่

สามารถดึงข้อมูลได้จากแพลตฟอร์มออนไลน์ และแพลตฟอร์มนั้นลูกค้าสามารถกำหนดข้อมูลผู้เสียภาษีได้ ERP แค่นำข้อมูลมาและมาพิมพ์ใบกำกับได้ ซึ่งอำนวยความสะดวกต่อผู้ขายได้ด้วยตรง หากมีออเดอร์เยอะก็สามารถทำใบกำกับภาษีได้ง่าย

ด้วยความสามารถใหม่จาก Marketplace จะช่วยทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากมีจำนวนปริมาณออเดอร์ที่เข้ามามากขึ้นในช่องทางต่างๆ ก็สามารถรับมือได้ หากเรามีตัวช่วยดีๆก็สามารถจัดการร้านค้าได้อย่างง่ายดาย สำหรับ NEXcloud ERP ซึ่งมีฟังก์ชัน Marketplace ซึ่งสามารถเชื่อมต่อได้กับช่องทางการขายออนไลน์ต่างๆเช่น Shopee Lazada รวมถึง JD Central ช่วยในเรื่องของการจัดการสินค้าออนไลน์ได้อย่างสะดวกขึ้น ด้วยฟังก์ชันที่ออกมาเพื่อช่วยตอบโจทย์การสินค้าออนไลน์โดยเฉพาะ โดยสามารถเช็กสต๊อกได้แบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสามารถทราบถึงจำนวนสินค้าทั้งหมดได้ ทำงานได้ง่ายขึ้นโดยการเชื่อมโยงข้อมูลไว้แบบแพลตฟอร์มเดียวกัน การเชื่อมโยงข้อมูลทำได้อย่างอัตโนมัติในทุกส่วนของธุรกิจ เช่น การทำบัญชีซื้อ-ขาย ช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตขึ้นแบบมืออาชีพและครบวงจรในเรื่องของการจัดการสินค้าออนไลน์

จัดการร้านค้าออนไลน์



NEXcloud ERP  โซลูชันบริหารธุรกิจบนคลาวน์

 

เป็นระบบ ERP ที่เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมี SAP Business One ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์มาตรฐานระดับโลกเป็นกลไกหลักในการทำงานมีเทมเพลตธุรกิจที่สามารถเลือกแพ็กเกจได้ตามความเหมาะสมของธุรกิจ ค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงในลักษณะ Subscription Model ไม่มีค่าฮาร์ดแวร์ ไม่มีค่าดูแลระบบ และไม่มีค่าอัปเกรดเดต ช่วยให้ควบคุมต้นทุนได้ ออกแบบมาเพื่อธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะ ออกแบบ ดูแล และวางระบบธุรกิจ โดย NEXUS บริษัทที่ปรึกษาโซลูชันธุรกิจ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 23 ปี และเชี่ยวชาญมากกว่า 10 อุตสาหกรรม

NEXcloud ERP ระบบบริหารธุรกิจ จัดการร้านค้าออนไลน์ บนคลาวด์

 

เชื่อมต่อกระบวนการทำงานของหน่วยงานต่างๆในองค์กรของคุณ ให้อยู่ภายใต้แพลตฟอร์มเดียวกันอย่างลงตัว ตอบโจทย์รูปแบบธุรกิจไทย ทั้งโปรแกรมภาษี การวางบิล การจัดการเช็ค และการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ มาพร้อมชุดแบบฟอร์มเอกสารรายงาน และแดชบอร์ดวิเคราะห์ข้อมูลอัจฉริยะ ช่วยการตัดสินใจและบริหารธุรกิจของคุณ

สนใจระบบ ERP ซอฟต์แวร์ธุรกิจ #ปรึกษาฟรี!
☎️ โทร :  0800707196
📲 Line Official Account : @NEXcloudERP
📣 FB : NEXcloud solution
💻 เว็บไซต์ : https://nexcloudsolution.com
📧 อีเมล : Mkt.th@nexus-sr.com