ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53 คืออะไร? SMEs ต้องรู้ หากไม่อยากโดนปรับ!

Sep 1, 2021

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53 คืออะไร? SMEs ต้องรู้ หากไม่อยากโดนปรับ!

จากบทความ 6 ประเภทภาษี ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SMEs มีภาษีที่สำคัญหลายตัวที่ธุรกิจจะต้องทำความเข้าใจและเตรียมตัวรับมือ โดยเราได้พูดถึงภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้ว ในบทความ รู้ยัง?! วิธีจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม รายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย ภ.พ.30 (VAT) ได้แบบง่าย ๆ ไม่ปวดหัว สำหรับวันนี้ เราจะมาพูดถึง ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งภาษีที่ธุรกิจจะต้องเจอแน่นอน

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีประเภทหนึ่งที่ผู้มีหน้าที่หัก จะต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายให้กับผู้ถูกหัก และมีข้อกำหนดว่าธุรกิจจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 3 และ 53 นำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป มิเช่นนั้นจะมีบทลงโทษตามกฎหมาย ฟังดูยุ่งยาก ต้องจัดการเอกสารหลายขั้นตอน แต่จริง ๆ แล้ว เราสามารถจัดการภาษีได้ง่าย ๆ ด้วย NEXcloud ERP ระบบที่เป็นตัวช่วยในการจัดทำรายงานภาษี ได้อย่างถูกต้องตามหลักของกรมสรรพากร

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร?

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือ ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คือ การจัดเก็บภาษีล่วงหน้าของรัฐ ซึ่งกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร

หากพูดง่าย ๆ ก็คือ ธุรกิจที่มีการจดทะเบียนในรูปบริษัทแล้ว เมื่อมีรายจ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าจ้างฟรีแลนซ์ ค่าบริการ ค่าเช่าออฟฟิศ ค่าขนส่ง เป็นต้น จะต้องหักเงินค่าจ้าง/ค่าบริการที่ต้องจ่ายไว้ส่วนหนึ่ง หรือที่เรียกว่า หัก ณ ที่จ่าย นั่นเอง โดยเงินที่หักจะไม่ใช่เงินของบริษัทแต่อย่างใด บริษัทเพียงมีหน้าที่รวบรวมและนำส่งให้กรมสรรพากรทุก ๆ เดือน ซึ่งจำนวนเงินที่ต้องหัก จะมีเกณฑ์กำหนดว่า หากจ่ายให้ใคร ต้องหักเท่าใด

*ในแง่ของผู้ถูกหัก กรมสรรพากรระบุไว้ว่าการหัก ณ ที่จ่าย หรือ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย นี้มีไว้เพื่อลดภาระของผู้เสียภาษี จะได้ไม่ต้องเสียภาษีทีเดียวเยอะ ๆ ตอนท้ายปีนั่นเอง

ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องทำอย่างไรบ้าง

  1. ขอข้อมูลผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ ชื่อที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
  2. ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้ง เมื่อมีการจ่ายเงินได้ (ตามอัตราที่กำหนดตามประมวลรัษฎากร)
  3. จัดทำหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ที่ถูกหักภาษีทุกครั้งที่ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยต้องทำการส่งฉบับจริงให้กับผู้ถูกหักและเก็บสำเนาเพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบภาษี ณ ที่จ่าย
  4. ยื่นแบบภ.ง.ด.3 หรือ ภ.ง.ด.53 พร้อมนำส่งภาษีที่หักไว้ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน

อัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย ของประเภทเงินได้ที่จะต้องถูกหักที่พบบ่อย ๆ

 

ค่าเช่า อาคาร บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง 5%

เงินได้จากวิชาชีพอิสระตาม หรือ ฟรีแลนซ์ เฉพาะใน 6 วิชาชีพ ได้แก่ ผู้ประกอบโรคศิลปะ ทนายความ วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี และประณีตศิลป์

3%
ค่าจ้างทำของ 3%
ค่าแสดงให้แก่นักแสดงสาธารณะ 5%
ค่าโฆษณา 2%
ค่าขนส่ง 1%
รางวัล ส่วนลด จากการส่งเสริมการขาย 3%
รางวัล จากการแข่งขัน ชิงโชค 5%

ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.3 คือ แบบที่ใช้สำหรับการยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งผู้รับเงินเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือพูดง่าย ๆ คือ แบบยื่นแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่บริษัทเรา (นิติบุคคล) ได้หักจากเงินค่าจ้าง/ค่าบริหารที่จ่ายให้กับบุคคลธรรมดา

ภ.ง.ด.53 คือ แบบที่ใช้สำหรับการยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งผู้รับเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือพูดง่าย ๆ คือ แบบยื่นแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่บริษัทเรา (นิติบุคคล) ได้หักจากเงินค่าจ้าง/ค่าบริหาร ที่จ่ายให้กับนิติบุคคลด้วยกัน หรือ ผู้รับเงินเป็นนิติบุคคลนั่นเอง

ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53 แสดงรายการหักภาษี ณ ที่จ่าย พร้อมกับนำเงินภาษีส่งต่อเจ้าพนักงานภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน ไม่ว่าจะหักภาษีไว้หรือไม่ก็ตาม

หากไม่ยื่นแบบ จะมีบทลงโทษอย่างไร

  1. ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายมิได้หักและนำส่ง หรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ โดยการชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้วแต่กรณี

ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้แล้วแต่ไม่ได้นำส่ง ผู้จ่ายเงินจะต้องรับผิดชำระภาษีจำนวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว

2. ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่นำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่หัก นำส่งภายในกำหนf จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องนำส่ง ทั้งนี้ให้คำนวณเงินเพิ่มเป็นรายเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯ จนถึงวันยื่นแบบฯ และนำส่งภาษี เว้นแต่จะแสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

3. ผู้ใดโดยเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ขอบคุณข้อมูลจาก: กรมสรรพากร

NEXcloud ERP โปรแกรมบัญชี ภาษี

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ จะเห็นว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจจะพลาดไม่ได้เลยทีเดียว ซึ่งการจัดการภาษี หัก ณ ที่จ่าย ที่ดูยุ่งยากนี้ สามารถจัดการได้อย่างง่ายดายด้วย NEXcloud ERP ระบบบริหารธุรกิจคลาวด์ ERP ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทยโดยเฉพาะ

NEXcloud ERP มาพร้อมกับโปรแกรมระบบภาษี ตัวช่วยสำคัญในการจัดทำรายงานภาษีได้อย่างถูกต้องตามหลักของกรมสรรพากร ประกอบไปด้วยรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามฉบับมาตรฐาน ภ.ง.ด 3 และ ภ.ง.ด 53 พร้อมทั้งควบคุมภาษีระหว่างเดือน บันทึกภาษีแบบอัตโนมัติ และรองรับการยื่นชำระภาษีแบบออนไลน์ หรือ E-filing ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรได้ยอมรับแล้วว่าถูกต้องและครบถ้วน

#NEXcloud ERP เพื่อนแท้ SMEs ที่เข้าถึงง่าย โดยทีมผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ

ลงทะเบียนทดลองใช้งานระบบ NEXcloud ERP 15 วัน

สนใจระบบ NEXcloud ERP / ซอฟต์แวร์ธุรกิจ ปรึกษาฟรี!

☎️ โทร :  0800707196
📲 Line Official Account : @NEXcloudERP
📣 FB : NEXcloud solution
💻 เว็บไซต์ : https://nexcloudsolution.com
📧 อีเมล : Mkt.th@nexus-sr.com