3 ความท้าทายของ SMEs ในปี 2022

Dec 30, 2021

3 ความท้าทายของ ธุรกิจ SMEs ในปี 2022

ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำงาน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและสถานการณ์ต่าง ๆ กระตุ้นให้ธุรกิจนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่ต้องเตรียมรับมือ ไม่เว้นแม้กระทั่งธุรกิจ SMEs ที่ต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน ลองดู 3 ความท้าทายที่ธุรกิจ SMEs ต้องพบในปี 2022 เพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึงนี้

3 ความท้าทายของ ธุรกิจ SMEs ในปี 2022

3 ความท้าทายของ ธุรกิจ SMEs ในปี 2022

1. การเปลี่ยนแปลงสู่สังคมไร้เงินสด

สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสังคมไร้เงินสดอย่างรวดเร็ว ทั้งจากเหตุการณ์การล็อกดาวน์ที่ทำให้ผู้คนไม่สามารถออกไปซื้อสินค้าที่ร้านได้ ต้องใช้ช่องทางออนไลน์เป็นหลัก และจากการรณรงค์ลดการสัมผัสสิ่งของร่วมกัน โดยเฉพาะธนบัตร ซึ่งมีงานวิจัยเรื่อง Journal of Hospital Infection โดย Healthcare Infection Society ที่ได้ทำการศึกษาอายุของเชื้อไวรัสโควิด 19 พบว่า ไวรัสโควิด 19 สามารถมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวของสิ่งของต่าง ๆ ได้ โดยสามารถมีชีวิตอยู่บนธนบัตรได้นานถึง 9 วัน 

เหล่านี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดสังคมไร้เงินสด ลูกค้าหันมาทำธุรกรรมแบบออนไลน์เป็นหลัก ไม่ว่าจะ โอนผ่านบัญชี ตัดบัตรเดบิต/เครดิต ซึ่งกลายเป็นตัวเลือกการชำระเงินที่สำคัญ ทั้งสะดวกสบายและรวดเร็ว

การเปลี่ยนแปลงนี้เอง จะสร้างการแข่งขันที่ร้อนแรงให้กับธุรกิจ SMEs สร้างความได้เปรียบ-เสียเปรียบในการขาย เช่น สินค้าชนิดเดียวกัน แต่ลูกค้าอาจเลือกร้านที่มีตัวเลือกในการจ่ายเงินที่หลากหลายกว่า หรือสินค้าที่มีราคาสูง ลูกค้ามักจะต้องการจ่ายด้วยบัตรเครดิตมากกว่า เป็นต้น นอกจากนี้การทำธุรกรรมออนไลน์ต่าง ๆ อาจสร้างภาระให้กับผู้ขายอีกด้วย ทั้งภาระค่าธรรมเนียม ระยะเวลารอคอยเงินสด อาจทำให้เกิดปัญหากับกระแสเงินสดได้

3 ความท้าทายของ ธุรกิจ SMEs ในปี 2022

2. ก้าวสู่ยุค บัญชีดิจิทัล

หลายปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของ Digital Disruption ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจ การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกิจเผชิญกับความไม่แน่นอน หลายธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนการทำงานเป็นแบบออนไลน์มากขึ้น ยกกระดับธุรกิจให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ต้องมีข้อมูลเพียงพอเพื่อใช้ในการตัดสินใจที่รวดเร็วและแม่นยำ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน เช่น การใช้ระบบ ERP เพื่อเปลี่ยนธุรกิจให้สามารถทำงานได้แบบดิจิทัล ทั้งการขาย การจัดการคลัง การผลิต รวมถึงบัญชีเช่นเดียวกัน

ความเปลี่ยนแปลงของ Digital Transformation จะส่งผลต่อกระบวนการทำงาน โดยเฉพาะฝ่ายบัญชี งานบัญชีก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น กระบวนการทางบัญชีจะง่ายขึ้น เช่น การบันทึกบัญชี การจัดทำภาษีและยื่นภาษี การจัดทำรายงานทางการเงิน จะสามารถทำได้แบบอัตโนมัติ เป็นต้น อีกทั้งการทำงานของสำนักบัญชีอาจเปลี่ยนแปลง ต้องพึ่งพา Cloud Technology มากขึ้น เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ ทุกเวลา หลากหลายอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ แล็ปท็อป หรือ หรือ PC  ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์จะทำให้ประหยัดและปลอดภัยยิ่งขึ้นอีกด้วย องค์กรต่าง ๆ รวมถึงนักบัญชี จะต้องเร่งปรับตัว เพื่อให้ทันกับกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง และมีศักยภาพพร้อมแข่งขันอยู่เสมอ

3 ความท้าทายของ ธุรกิจ SMEs ในปี 2022

3. การรักษาความปลอดภัยที่เข้มข้น

ในยุคที่วิทยาการก้าวหน้า เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันการรักษาความปลอดภัยก็ต้องรัดกุมขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะข้อมูลทางบัญชี เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลคู่ค้า เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มักจะเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่แฮกเกอร์ต้องการ เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวอาจมีมูลค่าสูง

สำหรับธุรกิจที่มีข้อมูลทางการเงินที่สำคัญดังกล่าว จะต้องมีมาตรการรักษาข้อมูลที่รัดกุม และปลอดภัย โดยเฉพาะธุรกิจที่ใช้โปรแกรมบัญชี และระบบ ERP บัญชี ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยให้องค์กรทำงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ บนเซิร์ฟเวอร์ซึ่งอาจมีช่องโหว่ความปลอดภัยได้ 

 Gartner บริษัทวิจัยและผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลก ได้สรุปข้อแนะนำสำหรับธุรกิจว่า ระบบคลาวด์อาจมีความปลอดภัยมากกว่าการเก็บข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์แบบเดิม เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีคลาวด์มีการอัปเดตซอฟต์แวร์อยู่เสมอและมีความปลอดภัยสูง อีกทั้งผู้ให้บริการคลาวด์จะมีผู้เชี่ยวชาญในการดูแลระบบให้ ต่างจากการเก็บข้อมูลแบบเซิร์ฟเวอร์ หรือแบบ on-premise ที่องค์กรต้องจ้างบุคลากรไอทีในการดูแลระบบเองนั่นเอง

ธุรกิจยุคดิจิทัล การจะเตรียมธุรกิจให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ และมีศักยภาพพร้อมแข่งขันอยู่เสมอ จำเป็นจะต้องมีเครื่องมือที่ดีเข้ามาช่วยในการบริหารและการทำงาน เช่น ระบบ ERP ซอฟต์แวร์บริหารจัดการธุรกิจ ที่หลายองค์กรทั่วโลกเลือกใช้ เชื่อมโยงการทำงานทุกส่วนในองค์กร จัดการกระบวนการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดข้อผิดพลาด เพิ่มประสิทธิภาพ และทำให้ผู้บริหารมีข้อมูลเพียงพอในการวางแผนธุรกิจ มีเครื่องมือช่วยวิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างแม่นยำ

ระบบ erp เชื่อมต่อ shopee ตัดสต๊อก ทำบัญชี ทำใบสั่งขาย อัตโนมัติ เชื่อมต่อหลังบ้านแบบเรียลไทม์

NEXcloudERP คือโซลูชันสำหรับคลาวด์ ERP ที่เชื่อมต่อกระบวนการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กรของคุณ ให้อยู่ภายใต้แพลตฟอร์มเดียวกันอย่างลงตัว ออกแบบมาเพื่อธุรกิจขนาดเล็ก-ขนาดกลาง หรือธุรกิจ SMEs โดยมี SAP Business One ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์มาตรฐานระดับโลกเป็นกลไกหลัก ในการทำงาน ในราคาเอื้อมถึง ระบบพร้อมเติบโตไปกับธุรกิจคุณ

โดย NEXUS ซึ่งเป็นบริษัทให้คำปรึกษาและติดตั้งซอฟต์แวร์บริหารจัดการธุรกิจระดับองค์กร ใช้ประสบการณ์มากกว่า 22 ปี ออกแบบและพัฒนาเทมเพลตธุรกิจเพื่อให้ตอบสนองการทำงาน ครอบคลุมไปยังหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม และตอบโจทย์รูปแบบธุรกิจไทย ทั้งโปรแกรมภาษี การวางบิล การจัดการเช็ค และการทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ มาพร้อมชุดแบบฟอร์มเอกสารรายงาน และแดชบอร์ดวิเคราะห์ข้อมูลอัจฉริยะ สำหรับการตัดสินใจและบริหารธุรกิจของคุณ

#NEXcloud ERP เพื่อนแท้ SMEs ที่เข้าถึงง่าย โดยทีมผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ

สนใจระบบ NEXcloud ERP / โปรแกรม ERP ซอฟต์แวร์ธุรกิจ ปรึกษาฟรี!

☎️ โทร :  0800707196
📲 Line Official Account : @NEXcloudERP
📣 FB : NEXcloud solution
💻 เว็บไซต์ : https://nexcloudsolution.com
📧 อีเมล : Mkt.th@nexus-sr.com