ปิดงบการเงิน คืออะไร มีประโยชน์กับธุรกิจอย่างไร ทำไมเจ้าของธุรกิจต้องรู้?!
การปิดงบการเงิน ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ว่า บริษัท จำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วน จำกัด ก็ต้องให้ความสำคัญ เพราะมีการกำหนดชัดเจนว่าต้องจัดส่งงบการเงินให้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่จริง ๆ แล้ว ปีละครั้งไม่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ เพราะการปิดงบเป็นเหมือนการสะท้อนภาพรวมของธุรกิจ ช่วยให้ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการทราบถึงข้อมูลทางการเงิน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ รวมถึงการวางแผนธุรกิจในอนาคตได้แม่นยำยิ่งขึ้น
ดังนั้นหากธุรกิจสามารถสรุปงบการเงินได้ทุกไตรมาสหรือทุกเดือน ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงาน โดยการปิดงบจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับการทำเอกสารให้เป็นระเบียบ ซึ่งบริษัทที่ใช้ระบบ ERP ในการจัดการบัญชี มีการจัดทำบัญชีอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้ย่นระยะเวลาการปิดงบการเงินได้และจัดการได้ง่ายยิ่งขึ้น!
การปิดงบการเงินคืออะไร
การปิดงบ การเงิน จะเกี่ยวข้องกับ งบการเงิน ซึ่งก็คือ รายงานทางบัญชีที่แสดงรายละเอียดทางการเงิน แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานของกิจการ และกระแสเงินสดของกิจการในแต่ละงวดบัญชี
งบการเงินประกอบด้วย
- งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position)
- งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)
- งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น (Statement of Changes Equity)
- หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to Financial Statement)
- งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement)
ส่วนการปิดงบ การเงิน คือการเรียบเรียงและรายงานข้อมูลทางการเงินของบัญชีบริษัท หรือก็คือการจัดการกับงบการเงินเมื่อถึงกำหนดสิ้นรอบบัญชี เพื่อจัดส่งรายละเอียดงบการเงินให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรตามที่กฎหมายกำหนด
ประโยชน์ของการปิดงบการเงิน
- รู้ผลกำไรขาดทุนที่แท้จริง
เจ้าของธุรกิจสามารถรับรู้ถึงผลประกอบการของธุรกิจ สินทรัพย์และหนี้สินของกิจการ สามารถนำไปใช้วางแผนธุรกิจได้
- บริหารสภาพคล่องทางการเงิน
เจ้าของธุรกิจสามารถบริหารสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทได้ โดยการวิเคราะห์ตัวเลขสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง ได้แก่ เงินสด ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ เป็นต้น
- รายงานที่ง่ายต่อการวิเคราะห์
เจ้าของธุรกิจสามารถนำข้อมูลจากการปิดงบ ไปจัดทำรายงานการวิเคราะห์ได้ เช่น รายงานการวิเคราะห์ลูกหนี้ รายงานการวิเคราะห์ยอดขาย รายงานการวิเคราะห์สินค้าคงเหลือ เป็นต้น
ขั้นตอนการปิดงบการเงิน
- จัดเก็บรายละเอียดเอกสารรายการค้า เก็บเอกสารทางการเงินของกิจการทั้งหมด เช่น ใบเสร็จ การซื้อ การขายต่าง ๆ เรียงตามวันที่เกิดรายการ แยกตามหมวดหมู่ให้เรียบร้อย เพื่อง่ายต่อการสรุปยอดบัญชี
- ทำบัญชีแยกประเภท รวบรวมการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นไว้เป็นหมวดหมู่ แล้วจัดทำบัญชีประเภทตามผังบัญชีของบริษัท
- ทำงบทดลอง นำบัญชีที่แยกประเภทแล้วมาทำงบทดลอง เพื่อจำแนกประเภทรายการทางการเงินของกิจการ ให้เห็นยอดคงเหลือของแต่ละบัญชี และใช้เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของตัวเลข
4.ปรับปรุงบัญชีค้างรับ ค้างจ่าย และค่าเสื่อมราคา ลงบัญชีที่ยังค้างอยู่ให้ครบถ้วน โดยเฉพาะบัญชีค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ยค้างรับ เป็นต้น
5.ปิดบัญชีสินค้าคงเหลือเข้าบัญชีต้นทุนสินค้าขาย โดยการตรวจนับสินค้าคงเหลือและตีราคาสินค้าคงเหลือเป็นตัวเงิน นำยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ เข้าบัญชีต้นทุนสินค้าขาย
6.ปิดบัญชีรายได้ ค่าใช้จ่าย ต้นทุนสินค้าขาย เข้างบกำไรขาดทุน นำรายได้ ค่าใช้จ่าย ต้นทุนสินค้าขายของธุรกิจมากระทบกัน เพื่อหายอดกำไรขาดทุน และทราบกำไรของกิจการ
7.งบแสดงฐานะการเงิน แสดงยอดคงเหลือของธุรกิจ ทำการสรุปว่ามีเงินสดเท่าไหร่ ลูกหนี้เท่าไหร่ จำนวนสินค้าที่มีไว้ขายคงเหลือมากน้อยแค่ไหน และหนี้สินที่ยังไม่ได้ชำระจำนวนเท่าใด
NEXcloud ERP เป็นระบบ ERP ที่มีความสามารถในการจัดการงานทางบัญชี รวมถึงงบการเงินต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปิดงบ ประกอบด้วย
- General Ledger (รายงานแยกประเภททั่วไป)
- Trial Balance Report (งบทดลอง)
- Balance Sheet Report (งบแสดงฐานะทางการเงิน)
- Profit & Loss Report (งบกำไรขาดทุน)
- Cash Flow (รายงานกระแสเงินสด)
- Transaction Journal Report (รายงานแสดงการบันทึกบัญชีสมุดรายวัน)
เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการปิดงบได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว สามารถเรียกดูรายงานประเภทต่าง ๆ ของงบการเงิน ช่วยให้ผู้บริหารสามารถรู้ถึงผลการดำเนินงานของบริษัทเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์และสนับสนุนการตัดสินใจได้
#NEXcloud ERP เพื่อนแท้ SMEs ที่เข้าถึงง่าย โดยทีมผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ
ลงทะเบียนทดลองใช้งานระบบ NEXcloud ERP 15 วัน
สนใจระบบ NEXcloud ERP / ซอฟต์แวร์ธุรกิจ ปรึกษาฟรี!
☎️ โทร : 0800707196
📲 Line Official Account : @NEXcloudERP
📣 FB : NEXcloud solution
💻 เว็บไซต์ : https://nexcloudsolution.com
📧 อีเมล : Mkt.th@nexus-sr.com