จด VAT ดีไหม? ข้อดี ข้อเสีย ของการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT เป็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล หากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทก็ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ให้กับกรมสรรพากร แต่หลาย ๆ คนมักจะมีคำถามว่า จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เมื่อจด VAT แล้วมีข้อดีอย่างไรและมีข้อเสียที่ต้องกังวลหรือไม่ วันนี้ NEXcloud ERP จะพาไปพบคำตอบ
ส่วนบริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ จด VAT แล้ว ห้ามพลาดหัวข้อ รู้ยัง?! วิธีจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม รายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย ภ.พ.30 (VAT) ได้แบบง่าย ๆ ไม่ปวดหัว
เข้าใจคำว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT) เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ ในปัจจุบันอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7% หรือที่เรามักจะคุ้นชินกับว่า VAT 7% นั่นเอง
ใครบ้างต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเรียกสั้น ๆ ว่า จด VAT ตามกฎหมายกำหนดให้ผู้ที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยรายได้ที่กล่าวถึงคือยอดขายหรือรายรับจริง ๆ ที่ยังไม่หักต้นทุนหรือกำไร โดยให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน
หากผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ประกอบกิจการโดยไม่ทำการจดทะเบียน จะมีโทษตามกฎหมาย จำคุกไม่เกิน 1 เดือน/ปรับ 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเลยทีเดียว
ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้น สามารถตรวจสอบได้ที่ กรมสรรพากร
ขั้นตอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (จด VAT)
หากผู้ประกอบการมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รายรับเกิน
โดยยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่
- สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ (แล้วแต่กรณี)
- หรือ ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต www.rd.go.th
ข้อดีของการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. ขอคืนภาษีซื้อได้
เมื่อบริษัทจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ที่เกิดจากการที่บริษัทไปซื้อหรือใช้บริการจากที่อื่น จะสามารถบันทึกเป็นภาษีซื้อและทำการขอคืนได้ เช่น บริษัทซื้ออุปกรณ์สำนักงานในราคา 25,000 บาท VAT เท่ากับ 1,750 บาท บริษัทที่จด VAT จะบันทึก 1,750 บาทนี้เป็นภาษีซื้อและขอคืนได้ ทำให้ต้นทุนของสินค้าถูกลง
2. การจัดการบัญชีเป็นระบบ ตรวจสอบได้ง่าย
เมื่อทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว บริษัทจะต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย เพื่อยื่นให้กับกรมสรรพากร ทำให้ต้องมีการลงบัญชีรายการซื้อ-ขาย เก็บเอกสารใบกำกับภาษีอย่างเป็นระบบ เมื่อจัดการบัญชีได้อย่างเป็นระบบ เอกสารไม่สะเปะสะปะ ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. เพิ่มโอกาสในการขาย ปิดการขายได้ง่าย
ในมุมของลูกค้า ส่วนใหญ่ต้องการใบกำกับภาษี โดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นในนามบริษัท เพราะต้องการนำไปใช้บันทึกภาษีซื้อเพื่อลดภาระภาษี ดังนั้นบริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีโอกาสขายที่มากกว่า ช่วยเพิ่มโอกาสให้กับกิจการได้
4. กิจการมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
การจด VAT เป็นเหมือนเครื่องหมายยืนยันว่าบริษัทของคุณมีตัวตนอยู่จริง เชื่อถือได้ เพราะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้รับการตรวจสอบจากกรมสรรพากรและมีชื่ออยู่ในระบบของสรรพากรด้วย ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้คู่ค้า
ข้อเสียของการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ราคาสินค้าหรือบริการต้องมีการบวก VAT 7% ทุกครั้ง อาจทำให้สินค้าคุณแพงขึ้น
- ต้องทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และยื่นแบบ ภ.พ.30 ให้กับกรมสรรพากรทุกเดือน ถึงแม้จะไม่มีการซื้อ-ขายก็ตาม
- ต้องมีความรู้เรื่องใบกำกับภาษี เพราะใบกำกับภาษีจะมีเงื่อนไข รายละเอียด หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษีตามกฎหมาย
แต่จริง ๆ แล้ว ข้อเสียในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมักจะเกิดจากความยุ่งยากในการทำเอกสาร ซึ่งในปัจจุบันสามารถจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยการใช้ NEXcloud ERP ระบบบริหารธุรกิจที่มีเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องภาษี จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย ใบกำกับภาษี ได้อย่างง่ายดาย ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร สะดวกและรวดเร็วกว่า
บริษัทเมื่อจด VAT แล้ว ย่อมมีการจัดการรายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย SAP Business One ซอฟต์แวร์มาตรฐานระดับโลก สามารถสร้างรายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะเป็นการหักเงินตามสัญญาที่เกี่ยวข้องแล้วส่งไปยังหน่วยงานด้านภาษีได้
มีวิธีการคำนวณภาษีอย่างไร
ภาษีที่ต้องเสีย คำนวณจากการนำ ภาษีขายทั้งเดือนภาษีมาหักด้วยภาษีซื้อทั้ง เดือนภาษีหากมีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ให้ ชำระภาษีส่วนต่างนั้น หากมีภาษีซื้อมากกว่า ภาษีขาย จะขอคืนภาษีส่วนต่างเป็นเงินสด หรือยกไปเครดิตภาษีในเดือนถัดไปก็ได้ดังนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
หากภาษีขาย > ภาษีซื้อ = ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ
หากภาษีขาย < ภาษีซื้อ = ภาษีที่มีสิทธิขอคืน หรือขอเครดิตภาษี
ภาษีขาย หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือ ผู้รับบริการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือรับค่า บริการ
ภาษีซื้อ หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่เป็น ผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อซื้อสินค้าหรือ ชำระค่าบริการเพื่อใช้ในการประกอบกิจการ ของตน ภาษีซื้อที่จะนำมาหักได้นี้คลุมไปถึง ภาษีซื้อของสินค้าประเภททุนด้วย
NEXcloud ERP ระบบบริหารธุรกิจบนคลาวด์ ERP ออกแบบมาเพื่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยทาง NEXUS บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจ ใช้ประสบการณ์มากกว่า 20 ปีและความเชี่ยวชาญมากกว่า 10 อุตสาหกรรม ในการออกแบบและพัฒนาเทมเพลตธุรกิจเพื่อให้ตอบสนองทุกการทำงานและครอบคลุมไปยังหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม
NEXcloud ERP มี SAP Business One ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์มาตรฐานระดับโลกเป็นกลไกหลักในการทำงาน สามารถขยายศักยภาพระบบไปได้อย่างไม่มีขีดจำกัด นอกจากฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์การทำงานแล้วยังประกอบไปด้วยชุดแบบฟอร์มเอกสารรายงาน แดชบอร์ด และยังรองรับ Thai Localization จัดการงานภาษีตามเงื่อนไขกรมสรรพากรได้อย่างถูกต้อง สะดวกและง่ายดาย
#NEXcloud ERP เพื่อนแท้ SMEs ที่เข้าถึงง่าย โดยทีมผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ
ลงทะเบียนทดลองใช้งานระบบ NEXcloud ERP 15 วัน
สนใจระบบ NEXcloud ERP / ซอฟต์แวร์ธุรกิจ ปรึกษาฟรี!
☎️ โทร : 0800707196
📲 Line Official Account : @NEXcloudERP
📣 FB : NEXcloud solution
💻 เว็บไซต์ : https://nexcloudsolution.com