ระบบบัญชี โปรแกรมบัญชี การบริหารการเงิน
Financial Accounting
ฟีเจอร์ระบบบัญชี การเงิน โปรแกรมบัญชี สามารถช่วยเพิ่มกำไร ลดข้อผิดพลาดและผลักดันการตัดสินใจที่ให้ผลกำไรมากขึ้น ด้วยฟีเจอร์ที่สมบูรณ์สำหรับการดำเนินงานทางบัญชีและการเงิน ทำงานได้อย่างมีมาตรฐาน คล่องตัว ลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน
เชื่อมโยงระบบต่าง ๆ เช่น บัญชีต้นทุน ลูกหนี้ เจ้าหนี้ ภาษี การกระทบยอดบัญชี กระแสเงินสด สินทรัพย์ถาวร การควบคุมงบประมาณ พร้อมจัดการเอกสารทางบัญชี การเงิน ได้อย่างง่ายดาย วิเคราะห์ ควบคุม บริหารงานทางบัญชีได้อย่างเต็มที่
ฟีเจอร์ ระบบบัญชี
โปรแกรมบัญชี
การบริหารการเงิน
การบัญชี
บริหารกระบวนการทางบัญชีได้อย่างอัตโนมัติ ครอบคลุมการทำงานทั้ง ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป การบันทึกรายงานประจำวัน บัญชีลูกหนี้ และบัญชีเจ้าหนี้ทางการค้า พร้อมทั้งจัดสรรและควบคุมต้นทุน บริหารกระแสเงินสด วางแผนและจัดทำงบประมาณ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสะดวก
ในการบริหารจัดการทรัพย์สินถาวร ฟังก์ชัน Vitual Fixed Asset ช่วยลดภาวะการป้อนข้อมูลซ้ำซ้อนด้วยตนเอง
การควบคุม
บริหารกระแสเงินสดได้อย่างแม่นยำ สามารถตรวจสอบทรัพย์สินถาวร ควบคุมงบประมาณและตรวจสอบค่าใช้จ่าย
การธนาคาร
ระบบบัญชีที่ช่วยให้ตรวจสอบบัญชีได้อย่างรวดเร็ว จัดทำรายการเดินบัญชีและการชำระเงินด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น เช็ค เงินสดและการโอนเงิน
รายงานและการวิเคราะห์ทางการเงิน
จัดทำรายงานสรุปการดำเนินงานในรูปแบบมาตราฐานหรือตามรูปแบบที่ต้องการแบบเรียลไทม์ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจและการตรวจสอบบัญชี
คำถามที่พบบ่อย
ERP คืออะไร?
ERP ย่อมาจากคำว่า Enterprise Resource Planning มีความหมายว่า การวางแผนทรัพยากรองค์กร ซึ่งจุดประสงค์ของระบบ ERP ก็คือ วางแผนบริหารจัดการทรัพยากรในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุดนั่นเอง
ซึ่งทรัพยากรภายในองค์กรนั้นรวมไปถึงทรัพยากรมนุษย์ด้วย ระบบ ERP จึงเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้งาน ทำงานได้อย่างคุ้มค่า คุ้มเวลามากที่สุด โดยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน งานที่ต้องป้อนข้อมูลซ้ำ ๆ ให้เป็นอัตโนมัติให้ได้มากที่สุด ลดข้อผิดพลาด และสรุปวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากได้
ประโยชน์ของ ERP คืออะไร
- เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน – ระบบ ERP จะเข้ามาช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนให้เป็นอัตโนมัติได้ ช่วยประหยัดเวลาการทำงาน ช่วยให้งานบางงานที่มีความซับซ้อน ยุ่งยาก ทำได้ง่ายขึ้น มีระบบการทำงานที่เป็นมาตรฐาน ส่งเสริมการทำงานร่วมกันภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดข้อผิดพลาดที่อาจขึ้นขึ้นจาก Human Error ได้
-
ง่ายต่อการตรวจสอบ – ระบบ ERP มีการทำงานอย่างเป็นระบบ สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน เอกสารที่เกิดขึ้นทุกใบจะมีหลักฐาน มีที่มาที่ไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบในฐานข้อมูล เรียกดูได้ง่าย ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบ มีความโปร่งใส
- เพิ่มความน่าเชื่อถือให้องค์กร – การมีระบบ ERP ที่ดี จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร โดยเฉพาะในมุมมองของธนาคารและผู้ลงทุน เพราะมั่นใจได้ว่า องค์กรจะมีการบริหารงานที่เป็นระบบ มีมาตรฐานและสามารถตรวจสอบได้
- ง่ายต่อการวิเคราะห์ – การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก ต้องใช้ทักษะและความเข้าใจ ยิ่งข้อมูลที่มาจากแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน ยิ่งยุ่งยากและใช้เวลา แต่ระบบ ERP สามารถสรุปข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นรายงานและแผนภาพที่เข้าใจง่าย เช่น Top 5 สินค้าขายดี ลูกหนี้ค้างชำระ เปรียบเทียบรายได้กับกำไร เป็นต้น ทำให้นำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์ต่อได้ง่ายยิ่งขึ้น
- ลดต้นทุน เพิ่มกำไรให้กับธุรกิจ – ระบบ ERP ช่วยให้องค์กรใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด มองเห็นภาพรวมของธุรกิจ รับรู้สถานการณ์ปัจจุบันของบริษัท เช่น กระแสเงินสด ต้นทุน กำไร รายงานการขาย รายงานสินค้าคงคลัง ข้อมูลฐานลูกค้า เป็นต้น ทำให้มีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจและวางแผนอนาคตได้แม่นยำ
ความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ ERP
องค์กรที่มีข้อมูลคู่ค้าหรือข้อมูลการเงินที่สำคัญ ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการเก็บข้อมูล โปรแกรมบัญชีอาจมีความปลอดภัยที่มากกว่าการใช้โปรแกรม Excel แต่ก็ยังมีโอกาสที่เซิร์ฟเวอร์จะล่มหรือโดนไวรัสเข้าถึงได้ง่าย ระบบ Nexcloud ERP บัญชี จะเก็บข้อมูลไว้ใน Database ที่มีความปลอดภัยสูง มีการสำรองข้อมูลไว้ในระบบคลาวด์ แม้เกิดเหตุการณ์ไฟตก ไฟดับ ข้อมูลก็ยังคงปลอดภัย ที่สำคัญผู้ใช้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกลไกของระบบได้เอง
ฟังก์ชันช่วยจัดการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล
การเข้าถึงข้อมูล – องค์กรที่มีผู้ใช้ระบบหลายคนจึงต้องคำนึงถึงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error) ทั้งเจตนาและไม่เจตนา การเข้าถึงสิทธิ์และการจัดการข้อมูล เช่น ลบ แก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูล เปลี่ยนข้อมูลเพื่อเหตุผลบางประการ หากระบบไม่สามารถติดตาม และดูบันทึกการกระทำย้อนหลังได้ ย่อมเกิดผลเสียต่อองค์กร ซึ่งระบบ ERP จะสามารถติดตามได้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเมื่อไหร่ โดยใคร และยังกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลได้อีกด้วย