ระบบการวางแผนการผลิต
Production Planning
ฟีเจอร์ระบบการวางแผนการผลิต ครอบคลุมกระบวนการการทำงานด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การกำหนดสูตรการผลิต การวางแผนจัดสรรวัตถุดิบ การติดตามสถานะการผลิตและการคิดต้นทุนการผลิต รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการผลิต สามารถนำเสนอรายงานจากข้อมูลล่าสุดในรูปแผนภาพและรายงานได้หลากหลายรูปแบบ
ช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานได้อย่างคล่องตัว ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลกับแผนกต่าง ๆ เช่น ฝ่ายบัญชี ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายขาย ได้แบบเรียลไทม์ แสดงข้อมูลสินค้าเข้า-ออก สินค้าคงคลัง และตำแหน่งสินค้าได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
ฟีเจอร์ ระบบการวางแผนการผลิต
การวางแผนวัตถุดิบ
ระบบการวางแผนการผลิตสามารถวางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบก่อนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดจำนวนต่ำสุด/จำนวนสูงสุด ระยะเวลาในการสั่งซื้อ ความต้องการสินค้าของลูกค้า การพยากรณ์ยอดขาย จำนวนคงเหลือในคลังสินค้า และรายการที่สั่งซื้อไปแล้วแต่ของยังมาไม่ถึงโรงงาน หมดปัญหาวัตถุดิบขาด/ไม่เพียงพอและวัตถุดิบล้นสต๊อก
การวางแผนการผลิต
ระบบการวางแผนการผลิตสามารถบริหารจัดการสูตรการผลิต (BOM) สำหรับสินค้าสำเร็จรูป เพื่อใช้ในการขั้นตอนการกำหนดส่วนประกอบต่าง ๆ ในการผลิตสินค้า รวมไปถึงค่าแรงคนงาน อีกทั้งยังตรวจสอบต้นทุนการผลิตเบื้องต้นจากสูตรการผลิตได้อีกด้วย
การบริหารจัดการคลังสินค้า
ระบบการวางแผนการผลิตสามารถบริหารจัดการสินค้าคงคลังด้วยการคำนวณต้นทุนแบบ FIFO (เข้าก่อนออกก่อน), Moving Average (ต้นทุนเฉลี่ย) & Standard Cost (ต้นทุนมาตรฐาน) พร้อมทั้งสามารถปรับปรุงข้อมูลต้นทุนสินค้า และกำหนดหน่วยสินค้า (UOM: Unit of Measure) ได้
การบริหารจัดการตำแหน่งที่ตั้งสินค้า
บริหารจัดการสินค้าในคลังสินค้าหลายแห่งโดยการแบ่งเป็นโซนย่อยๆ (Bin Location) เพื่อกำหนด Bin Location ให้กับสินค้าในการรายการ ทำให้เกิดประสิทธิภาพการเคลื่อนย้ายสินค้าลดระยะเวลาในการค้นหาสินค้า รวมไปถึงการตรวจสอบจำนวนสินค้าคงเหลือได้ง่าย
การควบคุมการออกใบเสร็จสินค้า
การบันทึกขั้นตอนการออกใบเสร็จ การตรวจสอบจำนวนสินค้าคงคลังและการโอนย้ายสินค้า การฝากขายสินค้าจากสถานที่อื่น การขายสินค้าแบบ Drop-ship และสามารถตรวจสอบจำนวนสินค้าคงคลังได้อีกด้วย
การนำเสนอรายงานด้านการผลิต
สามารถนำเสนอรายงานจากข้อมูลล่าสุดและนำเสนอในรูปแบบแผนภาพและรายงานได้หลากหลายรูปแบบ
คำถามที่พบบ่อย
ERP คืออะไร?
ERP ย่อมาจากคำว่า Enterprise Resource Planning มีความหมายว่า การวางแผนทรัพยากรองค์กร ซึ่งจุดประสงค์ของระบบ ERP ก็คือ วางแผนบริหารจัดการทรัพยากรในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุดนั่นเอง
ซึ่งทรัพยากรภายในองค์กรนั้นรวมไปถึงทรัพยากรมนุษย์ด้วย ระบบ ERP จึงเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้งาน ทำงานได้อย่างคุ้มค่า คุ้มเวลามากที่สุด โดยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน งานที่ต้องป้อนข้อมูลซ้ำ ๆ ให้เป็นอัตโนมัติให้ได้มากที่สุด ลดข้อผิดพลาด และสรุปวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากได้
ประโยชน์ของ ERP คืออะไร
- เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน – ระบบ ERP จะเข้ามาช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนให้เป็นอัตโนมัติได้ ช่วยประหยัดเวลาการทำงาน ช่วยให้งานบางงานที่มีความซับซ้อน ยุ่งยาก ทำได้ง่ายขึ้น มีระบบการทำงานที่เป็นมาตรฐาน ส่งเสริมการทำงานร่วมกันภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดข้อผิดพลาดที่อาจขึ้นขึ้นจาก Human Error ได้
-
ง่ายต่อการตรวจสอบ – ระบบ ERP มีการทำงานอย่างเป็นระบบ สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน เอกสารที่เกิดขึ้นทุกใบจะมีหลักฐาน มีที่มาที่ไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบในฐานข้อมูล เรียกดูได้ง่าย ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบ มีความโปร่งใส
- เพิ่มความน่าเชื่อถือให้องค์กร – การมีระบบ ERP ที่ดี จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร โดยเฉพาะในมุมมองของธนาคารและผู้ลงทุน เพราะมั่นใจได้ว่า องค์กรจะมีการบริหารงานที่เป็นระบบ มีมาตรฐานและสามารถตรวจสอบได้
- ง่ายต่อการวิเคราะห์ – การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก ต้องใช้ทักษะและความเข้าใจ ยิ่งข้อมูลที่มาจากแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน ยิ่งยุ่งยากและใช้เวลา แต่ระบบ ERP สามารถสรุปข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นรายงานและแผนภาพที่เข้าใจง่าย เช่น Top 5 สินค้าขายดี ลูกหนี้ค้างชำระ เปรียบเทียบรายได้กับกำไร เป็นต้น ทำให้นำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์ต่อได้ง่ายยิ่งขึ้น
- ลดต้นทุน เพิ่มกำไรให้กับธุรกิจ – ระบบ ERP ช่วยให้องค์กรใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด มองเห็นภาพรวมของธุรกิจ รับรู้สถานการณ์ปัจจุบันของบริษัท เช่น กระแสเงินสด ต้นทุน กำไร รายงานการขาย รายงานสินค้าคงคลัง ข้อมูลฐานลูกค้า เป็นต้น ทำให้มีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจและวางแผนอนาคตได้แม่นยำ
ระบบ ERP ติดตามสถานะการผลิตสินค้าได้หรือไม่
ติดตามสถานะใบสั่งผลิตและลำดับขั้นตอนตามสูตรการผลิตของสินค้าสำเร็จรูปในใบสั่งผลิตได้
สามารถนำเสนอรายงานจากข้อมูลล่าสุด (Real Time) และนำเสนอในรูปแบบรายงานการผลิต ทั้ง รายงานสูตรการผลิต รายงานแสดงรายการเอกสารด้านการผลิต
ฟังก์ชันช่วยจัดการ การผลิตมีอะไรบ้าง
- กำหนดสูตรการผลิต(BOM) ได้
- ตรวจสอบต้นทุนการผลิตเบื้องต้นจากสูตรการผลิตได้
- การผลิตผ่าน MRP สามารถทำการวางแผนการจัดการวัตถุดิบได้
- สามารถวางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบก่อนการผลิตได้
- โปรแกรมแสดงคำแนะนำในการซื้อ สามารถออกใบสั่งซื้อได้ทันที