NExcloud ERP โปรแกรม ERP ระบบบริหารงานจัดซื้อ บริหารคลังสินค้า

ระบบบริหารงานจัดซื้อและสินค้าคงคลัง

Purchasing & Inventory Management

NEXcloud ERP ระบบบริหารงานจัดซื้อสามารถจัดการกระบวนการจัดซื้อได้ทั้งระบบอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ขอใบเสนอราคา ทำรายการคำสั่งซื้อ การรับของ และการชำระเงิน รวมทั้งการออกใบเสร็จรับเงิน ใบแจ้งหนี้ การคืนสินค้า ทั้งยังมีเครื่องมือการนำเสนอรายงานที่สามารถเปรียบเทียบราคาจากผู้ผลิตรายต่าง ๆ เพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและสามารถลดต้นทุนได้อีกด้วย

ระบบบริหารงานจัดซื้อยังทำงานร่วมกับคลังสินค้าได้อย่างเป็นระบบ วางแผนการสั่งซื้อทั้งสินค้าสำเร็จรูปหรือวัตถุดิบสำหรับการผลิต ควบคุมสินค้าคงคลังและวัตถุดิบให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ตรวจสอบ ติดตาม จัดการสินค้าคงคลังได้อย่างรัดกุมและมีประสิทธิภาพ

Purchasing & Inventory Management

ฟีเจอร์ ระบบบริหารงานจัดซื้อและสินค้าคงคลัง 

การจัดซื้อ

ระบบบริหารงานจัดซื้อสามารถวางแผนความต้องการสินค้า และจัดตารางเวลาจัดซื้อตามความเหมาะสม ส่งคำร้องขอซื้อสินค้าและออกใบเสร็จที่เชื่อมโยงกับเอกสารการสั่งซื้อ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบบัญชี การบริหารจัดการคืนสินค้าและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

รองรับการกำหนดสกุลเงินต่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยน เพิ่มความสะดวกและคล่องตัวในการซื้อ/นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ

การบริหารจัดการข้อมูล

บริหารจัดการข้อมูลด้วยหน้าตาระบบที่ใช้งานง่าย ในใบขอซื้อสามารถเรียกดูรายงานการวิเคราะห์การสั่งซื้อในอดีตที่ผ่านมาได้จากหน้าจอ รวมทั้งเช็คยอดใบสั่งซื้อคงค้าง การวิเคราะห์เจ้าหนี้ การเช็คยอดคงเหลือสินค้า

สามารถเรียกดูงบประมาณแต่ละหน่วยงานและจัดทํางบประมาณ วิเคราะห์การจัดซื้อ และเก็บข้อมูลรายละเอียดการซื้อสินค้า ข้อมูลราคาและอัตราภาษี

การเชื่อมโยงระหว่างคลังสินค้าและการบัญชี

ข้อมูลที่เชื่อมโยงกันแบบเรียลไทม์ระหว่างการออกใบเสร็จซื้อสินค้ากับจำนวนสินค้าคงคลัง

จัดการเอกสารได้เป็นระบบ
ระบบบริหารงานจัดซื้อสามารถจัดเอกเอกสารที่เกี่ยวกับจัดซื้อได้ง่ายดายและมีมาตรฐาน สามารถออกใบแจ้งหนี้ การยกเลิกสินค้า และใบลดหนี้ โดยการอ้างอิงกับ POs มีการแสดง Relation map ดูทางเดินเอกสารที่เกี่ยวข้องกันทั้งหมด
นำเสนอรายงานได้อย่างง่ายดาย

สามารถนำเสนอรายงานที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงคลังแบบเรียลไทม์หรือรายงานวิเคราะห์การจัดซื้อต่างๆอีกมากมาย ที่มีทั้งในรูปแบบแผนภาพและรายงาน

คำถามที่พบบ่อย

ERP คืออะไร?

ERP ย่อมาจากคำว่า Enterprise Resource Planning มีความหมายว่า การวางแผนทรัพยากรองค์กร ซึ่งจุดประสงค์ของระบบ ERP ก็คือ วางแผนบริหารจัดการทรัพยากรในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุดนั่นเอง

ซึ่งทรัพยากรภายในองค์กรนั้นรวมไปถึงทรัพยากรมนุษย์ด้วย ระบบ ERP จึงเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้งาน ทำงานได้อย่างคุ้มค่า คุ้มเวลามากที่สุด โดยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน งานที่ต้องป้อนข้อมูลซ้ำ ๆ ให้เป็นอัตโนมัติให้ได้มากที่สุด ลดข้อผิดพลาด และสรุปวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากได้

ประโยชน์ของ ERP คืออะไร

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน – ระบบ ERP จะเข้ามาช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนให้เป็นอัตโนมัติได้ ช่วยประหยัดเวลาการทำงาน ช่วยให้งานบางงานที่มีความซับซ้อน ยุ่งยาก ทำได้ง่ายขึ้น มีระบบการทำงานที่เป็นมาตรฐาน ส่งเสริมการทำงานร่วมกันภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดข้อผิดพลาดที่อาจขึ้นขึ้นจาก Human Error ได้
  • ง่ายต่อการตรวจสอบ – ระบบ ERP มีการทำงานอย่างเป็นระบบ สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน เอกสารที่เกิดขึ้นทุกใบจะมีหลักฐาน มีที่มาที่ไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบในฐานข้อมูล เรียกดูได้ง่าย ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบ มีความโปร่งใส

  • เพิ่มความน่าเชื่อถือให้องค์กร – การมีระบบ ERP ที่ดี จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร โดยเฉพาะในมุมมองของธนาคารและผู้ลงทุน เพราะมั่นใจได้ว่า องค์กรจะมีการบริหารงานที่เป็นระบบ มีมาตรฐานและสามารถตรวจสอบได้
  • ง่ายต่อการวิเคราะห์ – การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก ต้องใช้ทักษะและความเข้าใจ ยิ่งข้อมูลที่มาจากแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน ยิ่งยุ่งยากและใช้เวลา แต่ระบบ ERP สามารถสรุปข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นรายงานและแผนภาพที่เข้าใจง่าย เช่น Top 5 สินค้าขายดี ลูกหนี้ค้างชำระ เปรียบเทียบรายได้กับกำไร เป็นต้น ทำให้นำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์ต่อได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • ลดต้นทุน เพิ่มกำไรให้กับธุรกิจ – ระบบ ERP ช่วยให้องค์กรใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด มองเห็นภาพรวมของธุรกิจ รับรู้สถานการณ์ปัจจุบันของบริษัท เช่น กระแสเงินสด ต้นทุน กำไร รายงานการขาย รายงานสินค้าคงคลัง ข้อมูลฐานลูกค้า เป็นต้น ทำให้มีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจและวางแผนอนาคตได้แม่นยำ

ระบบ ERP มีฟังก์ชันการบริหารจัดการคลังสินค้าอะไรบ้าง

  • คำนวณต้นทุนแบบ FIFO, Moving Average & Standard Cost ปรับปรุงข้อมูลต้นทุนสินค้า และกำหนดหน่วยสินค้าได้
  • ​สามารถเช็คสต๊อกที่กระจายอยู่ตามจุดขายผ่านระบบจัดการคลังสินค้าและรายงานการติดตามสถานะสินค้าแบบเรียลไทม์ได้
  • ​สามารถติดตามยอดขายและสถานะของสินค้าที่มีการเข้า-ออกผ่านคลังสินค้าได้
  • การจัดการเคลื่อนไหวของสินค้า
    สามารถติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้า​ได้ ป้องกันสินค้าสูญหายและรับรู้สถานะสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว ด้วยหมายเลข Serial และ Batch
  • การบริหารจัดการตำแหน่งที่ตั้งสินค้า
    การบริหารจัดการสินค้าในคลังสินค้าหลายแห่งโดยการกำหนด Bin Location ให้กับสินค้าได้

ฟังก์ชัน Inventory Transaction (ระบบโอนย้ายสินค้า) มีอะไรบ้าง

  • สร้างรายการโอนย้ายสินค้า มีระบบเอกสาร Goods Issues (เอกสารบันทึกเบิกจ่าย) 
  • ดำเนินการโอนย้ายสินค้า มีระบบเอกสาร Inventory Transfer (ระบบการบันทึกโอนสินค้าระหว่างคลัง)
  • จัดส่งใบแจ้งสินค้าออก มีระบบเอกสาร Inventory Revaluation (ระบบการบันทึกปรับมูลค่าสินค้า) และ Inventory Counting (ระบบการบันทึกการตรวจนับสินค้า)
  • รับสินค้าปลายทาง มีระบบเอกสาร Goods Receipts (เอกสารรับสินค้า)