ภาษีซื้อเฉลี่ย เรื่องที่ธุรกิจ SMEs ไม่ควรมองข้าม

Sep 1, 2022

NEXcloud ERP ระบบ ERP ราคา Sap Business One

ด้วยการแข่งขันทางธุรกิจที่มากขึ้น ธุรกิจในยุคปัจจุบันจึงต้องมีความหลากหลายและเป็นธุรกิจที่ครบวงจรเพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยธุรกิจเดียวต้องแบ่งไลน์สินค้าและบริการออกเป็นหลายรูปแบบ บางรูปแบบต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่บางรูปแบบก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วตอนจะยื่นภาษีต้องทำอย่างไร? วันนี้บทความ “ภาษีซื้อเฉลี่ย เรื่องที่ธุรกิจ SMEs ไม่ควรมองข้าม” ของเรามีคำตอบ

ภาษีซื้อเฉลี่ยคืออะไร ทำไมจึงสำคัญ?

ภาษีซื้อเฉลี่ย คือ การปันส่วนภาษีซื้อของธุรกิจ ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อยื่นสรรพากรของบริษัทที่ประกอบกิจการที่มีรายได้ ทั้งแบบเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทเหล่านี้จึงมีภาษีซื้อ ที่เกิดจากการนำสินค้าหรือบริการในการประกอบกิจการของตนเองไปใช้ ในทั้งกิจการ ที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งไม่สามารถแยกได้ว่าใช้ในกิจการใด โดยหากกิจการไม่ทำการเฉลี่ยภาษีซื้อจะถือว่าเป็นภาษีซื้อต้องห้ามทั้งจำนวนเลยทีเดียว ทราบอย่างนี้แล้วเรามาเรียนรู้วิธีการคิดภาษีซื้อ เฉลี่ย 3 วิธีที่ใช้กันโดยทั่วไปกันดีกว่า 

การเฉลี่ยภาษีซื้อตามประมาณการรายได้ กรณีผู้ประกอบการเพิ่งเริ่มประกอบการ หรือประกอบกิจการแล้วแต่ยังไม่มีรายได้  คือ คาดการณ์ว่าปีไหนบริษัทจะเริ่มมีรายได้ แล้วประมาณตอนต้นปี ตามรอบระยะเวลาบัญชีว่าสัดส่วนรายได้  ว่ารายได้ของกิจการส่วนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ และรายได้ของกิจการส่วนที่ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ทั้งหมดในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น แล้วนำมาปรับปรุงภาษีซื้อหรือก็คือ การเปรียบเทียบกับสัดส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับที่ประมาณการไว้ตอนปลายรอบระยะเวลาบัญชี ว่ามีส่วนต่างอยู่ที่เท่าไหร่  ถ้าที่ประมาณการไว้นั้นมากกว่าที่เกิดขึ้นจริง เราต้องคืนเงินให้สรรพากร แต่ถ้าที่ประมาณการไว้นั้นน้อยกว่าที่เกิดขึ้นจริงเราจะได้เงินจากสรรพากร (ต้องยื่นเรื่องภายใน 3 ปี)

การเฉลี่ยภาษีซื้อตามรายได้ของปีที่ผ่านมา กรณีผู้ประกอบการประกอบการแล้วมีรายได้ของปีที่ผ่านมา กิจการสามารถเลือกได้สองวิธี คือ วิธีแรก ให้นำสัดส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของกิจการส่วนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และรายได้ของกิจการส่วนที่ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ของปีที่ผ่านมานำมาใช้เฉลี่ยภาษีซื้อ โดยไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อเมื่อสิ้นปีอีก หรือ อีกวิธี ที่สามารถเลือกได้ คือ ให้นำสัดส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของกิจการส่วนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และรายได้ของกิจการส่วนที่ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ของปีที่ผ่านมานำมาใช้เฉลี่ยภาษีซื้อ แล้วปรับปรุงภาษีซื้อ เฉลี่ยโดยใช้วิธีและหลักเกณฑ์เดียวกันกับในปีแรกที่มีรายได้ในกิจการ

 

การเฉลี่ยภาษีซื้อทั่วไป หรือเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ : สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. การผ่อนปรนไม่ต้องเฉลี่ยภาษีซื้อตามรายได้

ทำได้ในกรณีที่

  • รายได้ปีที่ผ่านของกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่น้อยกว่า 90% ของรายได้ของกิจการทั้งหมด
    ผู้ประกอบการมีสิทธิเลือกนำภาษีซื้อทั้งจำนวนหักจากภาษีขาย แต่ห้ามนำภาษีซื้อไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการ และสิ้นปีไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อ
  • รายได้ปีที่ผ่านมาของกิจการที่ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่น้อยกว่า 90%  ของรายได้ของกิจการทั้งหมด
    ผู้ประกอบการมีสิทธิเลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งจำนวนไปหักจากภาษีขาย แต่ให้นำภาษีซื้อไปรวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการ และสิ้นปีไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อ

2. การเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคาร :

เกิดจากการก่อสร้างอาคารที่แบ่งสัดส่วนไปใช้ เพื่อกิจการส่วนที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กับกิจการส่วนที่ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเกิดการเฉลี่ยภาษีซื้อจากการสร้างอาคารขึ้น โดยผู้ประกอบการต้องประมาณการไว้ก่อนสร้างอาคารแล้วว่าจะใช้อาคารเพื่อกิจการส่วนที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจการส่วนที่ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนละกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วตอนสร้างอาคารเสร็จใช้ตามที่ประมาณการไว้หรือไม่ แล้วทำการปรับปรุงภาษีซื้อ

3. การเฉลี่ยภาษีซื้อตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด :

ในกรณีที่ไม่ตรงกับ 2 สถานการณ์แรก คือ มีบางส่วนของอาคารไม่สามารถแบ่งแยกได้ว่าใช้กับกิจการส่วนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ห้องแผนกบัญชี ห้องกรรมการผู้จัดการ ห้องผู้บริหาร เป็นต้น ทางสรรพากรจะให้เฉลี่ยภาษีซื้อเฉพาะส่วนที่ไม่สามารถแยกได้นี้ตามสัดส่วนของรายได้กิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เกิดขึ้นจริงในปีนั้น (กรณีมีรายได้ในปีนั้นอยู่ก่อน) หรือตามสัดส่วนรายได้ที่ประมาณการว่าจะได้ (ในปีที่คาดว่าจะมีรายได้)

ธุรกิจ SMEs ต้องให้ความสำคัญกับภาษีซื้อเฉลี่ยนี้ให้มาก ๆ ไม่อย่างนั้นถ้าไม่ยื่นหรือยื่นผิดพลาดต้องโดนเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มไปตามระเบียบ ดังนั้นเรามาต่อกันที่… เราจะรู้ได้อย่างไรว่าธุรกิจ SMEs ของคุณเข้าข่ายต้องยื่นภาษีซื้อ เฉลี่ย ในหัวข้อถัดไป

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าธุรกิจ SMEs ของคุณเข้าข่ายต้องยื่นภาษีซื้อเฉลี่ย

ธุรกิจที่ต้องยื่นภาษีซื้อ เฉลี่ย คือ ธุรกิจที่แยกสายการจำหน่ายสินค้าหรือบริการออกเป็นหลายส่วน แล้วบางส่วนเป็นแบบที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม บางส่วนเป็นแบบไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามตัวอย่างด้านล่าง

 

บริษัท หมูน้อยอ้วนพี จำกัด

ซื้อหมูมาเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปสินค้าขาย โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

  1. นำหมูมาแปรรูปเป็น หมูชิ้น แยกขายตาม Supermarket ทั่วประเทศ
    (ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม – NON VAT)
  2. นำหมูมาแปรรูปเป็น ไส้กรอกหมู แยกขายตาม Supermarket และ Convenience Store
    (เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม – VAT)

 

จะเห็นได้ว่า บริษัท หมูน้อยอ้วนพี จำกัด นั้นมีการจำหน่ายสินค้าทั้งรูปแบบที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และรูปแบบที่ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีนี้ บริษัทหมูน้อยอ้วนพี จำกัด ต้องยื่นภาษีซื้อ เฉลี่ย แก่สรรพากร ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้

ภาษีซื้อเฉลี่ย เรื่องที่ธุรกิจ SMEs ไม่ควรมองข้าม

ในที่นี้เรามีข้อมูลเพิ่มเติมว่าธุกิจประเภทไหนไม่ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ NON VAT สามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ

1.ธุรกิจที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ธุรกิจที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  • ธุรกิจที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ธุรกิจให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการให้บริการนั้นในราชอาณาจักร
  • ธุรกิจที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว
  • ธุรกิจอื่นตามที่อธิบดีฯสรรพากรกำหนด

2.ธุรกิจที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ธุรกิจขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
  • ธุรกิจการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
  • ธุรกิจการส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออก ตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • ธุรกิจการให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษีซื้อเฉลี่ย ในระบบ ERP

  1. แบบ ภ.พ.05.1 คือ แบบแจ้งรายการประมาณการการใช้พื้นที่อาคารโดยผู้ประกอบการจะต้องแจ้งรายการภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มก่อสร้างอาคารหรือวันที่ได้รับอนุมัติให้ ทางการก่อสร้างอาคารแล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นก่อน
  2. แบบ ภ.พ.05.2 คือ แบบแจ้งรายการวันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งจะต้องแจ้ง ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์
  3. แบบ ภ.พ.05.3 คือ แบบแจ้งรายการเกี่ยวกับการเริ่มใช้อาคาร (ไม่ว่าทั้งหมดหรือ บางส่วน) โดยจะต้องแจ้งรายการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เริ่มใช้อาคาร
  4. แบบ ภ.พ.05.4 คือ แบบแจ้งรายการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารโดย จะต้องแจ้งรายการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคาร
  5. แบบ ภ.พ.30 คือ เอกสารสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย ที่เจ้าของธุรกิจต้องเอาไว้ใช้ยื่นแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากรทุกเดือน โดยต้องทำก่อนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
ภาษีซื้อเฉลี่ย เรื่องที่ธุรกิจ SMEs ไม่ควรมองข้าม

NEXcloud’s Tips :

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ยังอยู่ในช่วงการหาข้อมูลก่อนจะสร้างธุรกิจ SMEs ในฝันของคุณ เราขอแนะนำว่าลองศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจที่คุณจะสร้างให้ถี่ถ้วนเสียก่อน เพื่อการต่อยอดในการวางแผนอนาคต และเป้าหมายของธุรกิจคุณได้อย่างรอบด้าน เหล่านี้จะทำให้เกิดปัญหาน้อยลงอย่างมากเมื่อธุรกิจเริ่มเติบโตขึ้น อย่างในเรื่องภาษีซื้อ เฉลี่ยก็เช่นกัน หากศึกษาให้ดีจะไม่เกิดความวุ่นวายในภายหลังจากการต้องปรับปรุงภาษีใหม่ทั้งหมด หรือโดนเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ก้อนใหญ่ในภายหลังเพราะความไม่เข้าใจในเรื่องเล็ก ๆ ส่วนเดียว

 

ทำไมต้องให้ NEXcloud ERP เป็นผู้ช่วยในการจัดทำเอกสารภาษีซื้อ

กระบวนการทำเอกสารบัญชีและภาษีที่ยุ่งยากกำลังกวนใจคุณอยู่หรือเปล่า? ให้ NEXcloud ERP เป็นตัวช่วยในการจัดทำเอกสารบัญชีและภาษีของคุณ นอกจากจะช่วยลดขั้นตอนการจัดทำเอกสารแล้ว คุณยังมั่นใจได้ว่าเอกสารถูกต้องตามที่สรรพากรต้องการ ทำให้ช่วยลดปัญหาที่จะตามมาอย่างเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ก้อนโตได้อย่างอยู่หมัดแน่นอน มีขั้นตอนสอนใช้แบบ Online Training ไม่ยุ่งยาก เท่านี้ก็วิ่งนำคู่แข่งไปอีกหลายก้าว

 

NEXcloud ERP  โซลูชันบริหารธุรกิจบนคลาวด์ เป็นระบบ ERP ที่เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมี SAP Business One ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์มาตรฐานระดับโลกเป็นกลไกหลักในการทำงานมีเทมเพลตธุรกิจที่สามารถเลือกแพ็กเกจได้ตามความเหมาะสมของธุรกิจ ค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงในลักษณะ Subscription Model ไม่มีค่าฮาร์ดแวร์ ไม่มีค่าดูแลระบบ และไม่มีค่าอัปเดต ช่วยให้ควบคุมต้นทุนได้ ออกแบบมาเพื่อธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะ ออกแบบ ดูแล และวางระบบธุรกิจ โดย NEXUS บริษัทที่ปรึกษาโซลูชันธุรกิจ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 23 ปี และเชี่ยวชาญมากกว่า 10 อุตสาหกรรม

 

NEXcloud ERP ระบบบริหารจัดการธุรกิจบนคลาวด์ เชื่อมต่อกระบวนการทำงานของหน่วยงานต่างๆในองค์กรของคุณ ให้อยู่ภายใต้แพลตฟอร์มเดียวกันอย่างลงตัว ตอบโจทย์รูปแบบธุรกิจไทย ทั้งโปรแกรมภาษี การวางบิล การจัดการเช็ค และการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ มาพร้อมชุดแบบฟอร์มเอกสารรายงาน และแดชบอร์ดวิเคราะห์ข้อมูลอัจฉริยะ ช่วยการตัดสินใจและบริหารธุรกิจของคุณ

 

 

 

สนใจระบบ ERP ซอฟต์แวร์ธุรกิจ #ปรึกษาฟรี!
☎️ โทร :  0800707196
📲 Line Official Account : @NEXcloudERP
📣 FB : NEXcloud solution ​
💻 เว็บไซต์ : https://nexcloudsolution.com
📧 อีเมล : Mkt.th@nexus-sr.com

ลงทะเบียนทดลองใช้งานระบบ NEXcloud ERP 15 วัน